ฮอนด้า ซิตี้ (Honda City) เป็นรถรุ่นหนึ่งที่ฮอนด้า ผลิตออกมา เพื่อให้เป็นรถรุ่นที่มีขนาดเล็กมาก (Subcompact car) เริ่มผลิตตั้งแต่ พ.ศ. 2524 เป็นรถยนต์ขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จมากในแถบเอเชีย รถรุ่นนี้ แรกเริ่มเดิมที จะผลิตเป็นรถ Hatchback (รถท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง เช่น แจ๊ซ หรือยาริส ในปัจจุบัน เป็นต้น) แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าใดนัก จึงได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นรถซีดาน (มีท้าย และกระโปรงหลัง) อย่างปัจจุบัน
ปัจจุบัน ฮอนด้า ซิตี้ เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับยี่ห้ออื่นหลายรุ่น เช่น โตโยต้า วีออส, เชฟโรเลต อาวีโอ, ฟอร์ด เฟียสตา, มาสด้า 2, ฮุนได แอกเซนท์ ฯลฯ ด้วยความที่เป็นรถขนาดเล็กคล้ายคลึงกัน และมีราคาใกล้เคียงกัน
ฮอนด้า ซิตี้ เริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทยเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งก็คือโฉมที่ 3 โดยก่อนหน้านั้น มีรถยนต์ในระดับเดียวกับซิตี้คือ โอเปิล คอร์ซา, ฟอร์ด แอสปาย, ฮุนได เอ็กเซล, ฮุนได แอกเซนท์, ฮอนด้า ซีวิค (3 ประตู) ก่อนที่จะมีรถยนต์คู่แข่งอื่นๆ ตามมาในภายหลัง เช่น โตโยต้า โซลูน่า, โตโยต้า วีออส, โตโยต้า ยาริส, มาสด้า 2, ฟอร์ด เฟียสตา, เชฟโรเลต อาวีโอ, เชฟโรเลต โซนิค, เกีย พิแคนโต นอกจากนี้ ยังเป็นคู่แข่งการตลาดกับรถ Eco Car บางรุ่น ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงและหรือเท่า B-Car เช่น นิสสัน มาร์ช, นิสสัน อัลเมร่า, มิตซูบิชิ มิราจ, ซูซูกิ สวิฟท์ เป็นต้น
ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นแรก เริ่มผลิตเป็นรถ hatchback 3 ประตู (ซ้าย ขวา และหลัง) มีจุดเด่นตรงที่รถมีความสูงมาก และมีพื้นที่ภายในที่ดูกว้างขวาง ทั้งๆ ที่ดูภายนอกแล้วรถมีขนาดเล็ก
ซิตี้รุ่นแรกนี้ มีกระแสตอบรับมากพอสมควร จนในปีถัดมา (พ.ศ. 2525) ซิตี้ก็เริ่มทำรถแบบ convertible (เปิดประทุนได้) และแบบรถสปอร์ต และอีกปีถัดมา (พ.ศ. 2526) ที่นิวซีแลนด์ ซิตี้ ได้เข้าไปแทนที่รถมินิ ในสายการผลิตของโรงงานผลิตรถยนต์ที่นั่น และในปีเดียวกัน ก็มีการส่งออกรถซิตี้ไปยังประเทศออสเตรเลียเป็นจำนวนมากเช่นกัน
โฉมนี้ ซิตี้ ยกเลิกการผลิตรถรุ่นเปิดประทุน โฉมนี้ไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนโดยทั่วไป เนื่องจากโฉมนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก และได้ยกเลิกการนำเข้ารถซิตี้มาขายในออสเตรเลีย เปลี่ยนไปนำเข้ารถ ฮอนด้า โลโก้ มาจำหน่ายแทน
ซิตี้โฉมนี้ หยุดการผลิตลงใน พ.ศ. 2537 และซิตี้หยุดการผลิตไปนานถึง 2 ปี ก่อนจะนำกลับมาผลิตใหม่อีกครั้ง ซึ่ง Generation ถัดจากนี้เป็นต้นไป ซิตี้ ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่บริษัทฮอนด้านำเข้ามาขายในประเทศไทย ในประเทศไทยพ่อค้าเรียกว่าซิตี้รุ่นแรก ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนโฉมเป็น Type Z ซึ่งคล้ายกับ Civic Minorchange มาก ทั้งนี้ ทางฮอนด้า ยกเลิกเป้าหมายที่จะให้ซิตี้เป็นที่นิยมในวงกว้างทั่วโลก เปลี่ยนมาตั้งเป้าหมายให้ซิตี้เป็นที่นิยมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ออกแบบซิตี้โฉมนี้มาเพื่อคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ โดยเปลี่ยนมาเน้นการผลิตรถ sedan แทนรถ hatchback และช่วงนี้ ซิตี้เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ โตโยต้า เทอร์เซล หรืออีกชื่อหนึ่ง โตโยต้า โซลูน่า
ในช่วงแรกๆ ซิตี้ในประเทศไทยมีเฉพาะเครื่องยนต์ขนาด 1300 ซีซี แต่ในภายหลังได้ออกเครื่องยนต์ 1500 ซีซีด้วย เครื่อง hyper
ซิตี้โฉมนี้ ออกแบบมาเพื่อให้เป็นรถ "ฮอนด้า ซีวิคย่อส่วน" ซึ่งค่อนข้างถูกใจคนเอเชีย ช่วงรุ่นนี้ของซิตี้ ออกแบบมาจากซีวิคโฉมไฟท้าย 2 ชั้น (EF) ซิตี้โฉมนี้เป็นที่นิยมในประเทศอินเดีย, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และ ปากีสถาน ยิ่งโดยเฉพาะโฉมนี้ซึ่งมีฮอนด้า ซิตี้ Type Z ซึ่งเป็นรุ่นพิเศษซึ่งก็เป็นที่นิยมไม่น้อยในไทย โดยมีขายในช่วง พ.ศ. 2542- 2545
โฉมนี้ในบางประเทศจะใช้ชื่อว่า "ฮอนด้า ฟิต เอเรีย" (Honda Fit Aria) โฉมนี้ยังคงเป็นที่นิยมในถิ่นเดิม เช่นเดียวกับโฉมที่แล้ว และโฉมนี้ มีรุ่นที่ปรับโฉมเล็กน้อย (ไมเนอร์เชนจ์) คือ ฮอนด้า ซิตี้ ZX ซึ่งเริ่มผลิตขึ้นใน พ.ศ. 2548 โฉมนี้เป็นที่รู้จักกันดีคือจะใช้ระบบเกียร์แบบใหม่ CVT 7 สปีด ควบคู่เกียร์อัตโนมัติธรรมดา โดยที่เกียร์ธรรมดา (เกียร์กระปุก) ก็ยังมีขาย และใช้เครื่องยนต์หัวฉีด i-DSI หรือ VTEC
โฉมนี้ เป็นโฉมที่ซิตี้ เริ่มแข่งขันทางการตลาดกับโตโยต้า วีออส ซึ่งแข่งมาถึงปัจจุบัน ซึ่งโดยรวมแล้ว ถือว่า ซิตี้ได้เปรียบวีออสในเรื่องของการประหยัดเชื้อเพลิง (โดยเฉพาะรุ่นเครื่องยนต์ i-DSI) แต่เสียเปรียบวีออสในเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ความเป็นที่นิยมของรถ (ก่อนที่จะมีซิตี้ ZX นั้น ซิตี้รุ่นนี้ขายดีน้อยกว่าพอสมควร) สมรรถนะของรถ และความดูทันสมัยในรถ (เช่น วีออส ใช้หน้าปัดดิจิตอลแสดงความเร็วรถ แต่ซิตี้ยังเป็นเข็ม) สำหรับคุณภาพของตัวรถนั้นถือว่าใกล้เคียงกัน
โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยจะมี 3 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S , V และ SV ซึ่งรุ่น S จะมีราคาที่ถูกสุด และ SV จะมีราคาแพงที่สุด
รูปทรงใหม่ที่โฉบเฉี่ยว ทันสมัย กว้างขวางขึ้น ความมู่ทู่ลดลง ประหยัดน้ำมัน รถราคาถูก และประกอบกับภาวะน้ำมันแพง ทำให้ซิตี้โฉมนี้มียอดจองทะลุเป้าหมายที่ฮอนด้าตั้งไว้
ฮอนด้า ซิตี้ โฉมที่ 5 นี้ ได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี ระดับประเทศไทย 2 ปีซ้อน (Thailand Car of the Year 2009,2010) ในประเภทรถยนต์นั่ง ในรุ่นไม่เกิน 1,500 ซีซี (Best Sedan under 1,500 cc.
ในปี พ.ศ. 2554 ฮอนด้าประเทศไทยได้มีการปรับโฉม Minorchange ฮอนด้า ซิตี้ และในปี พ.ศ. 2555 ฮอนด้าได้เปิดตัวรุ่น City CNG ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้พลังงานทางเลือก และ ยังมีรุ่นพิเศษ Modulo ซึ่งตกแต่งด้วยชุดแต่งModulo ก่อนที่จะมีการปรับโฉม Full Modelchange ในปี พ.ศ. 2557
ล่าสุด พ.ศ. 2556 ทางฮอนด้าประเทศไทยก็ได้เพิ่มตัวเลือกอีกหนึ่งตัวเลือกในรุ่น SV นั่นก็คือรุ่น SV VSA โดยมีการเพิ่ม VSA, ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยผู้โดยสารด้านหน้า, จุดยึดเบาะนั่งสำหรับเด็ก ISOFIX & Child Anchor แต่ก็ต้องขาด "เบาะด้านหลังปรับเอนได้หนึ่งระดับ" ที่มีมาให้เฉพาะในรุ่น SV ไป นอกจากนั้นอุปกรณ์ทุกอย่างเหมือนกับ SV ทุกประการ ยกเว้นราคาที่สูงกว่ารุ่น SV 14,000 บาทซึ่งอยู่ที่ 718,000 บาท
โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยในรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557 โดยจะมี 5 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S , V , V+ , SV และ SV+
ซึ่งในโฉมใหม่นี้รองรับน้ำมันเชื้อเพลง E85 ในทุกรุ่นย่อย พร้อมกับระบบ Econ Assist ที่ช่วยให้การขับขี่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น
พร้อมทั้งยังมีโครงสร้างนิรภัย G-CON ระบบควบคุมการทรงตัว VSA ระบบช่วยออกตัวในทางชัน HSA(ยกเว้นรุ่นเกียร์ธรรมดา) และไฟเตือนการเบรกกระทันหัน ESS เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยมาตรฐานในทุกรุ่นย่อย
และตั้งแต่รุ่น V+ ขึ้นไปจะมีเสาครีบฉลาม (Shark Fin) และหน้าจอระบบสัมผัส สำหรับเกียร์อัตโนมัติทุกรุ่นจะได้ระบบบเกียร์อัตโนมัติ CVT 7 สปีด แบ่งสีที่จำหน่ายเป็นดังนี้